Tuesday, June 12, 2007

Freezing of Assets ordered

The Assets Examination Committee has ordered the assets of the tyrant and his family be frozen.

The Nation summarizes the long statement into this short form.

All I can say is this is a just and fair action.

Members of this committee are highly respected individuals regarded for their honesty, straighforwardness, fairness, and high integrity. If the tyrant and family members were "good," there is NO way in the world that the AEC members would do such a thing.

We patriot Thais are deeply grateful for the AEC members for their patriotism, for their daring endeavor against evil people's corruption and wrongdoing, and for risking their lives to prove that there are people worthy of calling themselves righteous.

I for one will always be forever grateful.

Here are the details in Thai (from Matichon newspaper)

รายงานข่าวเปิดเผยถึงเบื้องหลังการออกมติอายัดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณของคตส.ว่า ที่ประชุมได้ประชุมลับโดยไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุม มีเพียงคตส. 11 คนเท่านั้น โดยใช้เวลาหารือเคร่งเครียดนานกว่า 5 ชั่วโมง ปรากฏว่าที่ประชุมเสียงแตกเป็น 7 ต่อ 4 โดยเสียงข้างน้อย ประกอบด้วย นายอำนวย ธันธรา นายจิรนิติ หะวานนท์ นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ และนายสัก กอแสงเรือง โดยเห็นว่ากระบวน การทางกฎหมายยังไม่ถึงที่สิ้นสุด พยานหลักฐานยังไม่สมบูรณ์ หากเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินการอย่างไรต่อไปได้

เผยชื่อเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย

สำหรับกรรมการคตส.เสียงข้างน้อย 4 คนนั้น 2 ใน 4 คนเป็นกรรมการที่มาจากสายตุลาการคือ นายอำนวย ธันธรา อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา นายจิรนิติ หะวานนท์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนนายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ และนายสัก กอแสงเรือง ทั้ง 2 คนเป็นกรรมการที่ดูแลเรื่องการสอบสวนการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป โดยนายสักเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีที่คตส. ยื่นฟ้องนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และคุณหญิงพจมาน กรณีการเลี่ยงภาษีการโอนหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ และนายวิโรจน์เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวนการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป โดยขณะนี้กำลังสอบสวนเรื่องการซื้อขายหุ้นแอมเพิลริช ซึ่งสำนวนยังไม่สมบูรณ์

ส่วนเสียงข้างมาก 7 คน ประกอบด้วยนายนาม ยิ้มแย้ม นายกล้านรงค์ จันทิก นายแก้วสรร อติโพธิ นายอุดม เฟื่องฟุ้ง นายบรรเจิด สิงคะเนติ นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เชื่อว่ามีมูลทุจริตจึงเห็นควรให้อายัดทรัพย์ เพราะหากไม่ดำเนินการในช่วงนี้เมื่อถึงชั้นศาล และศาลพิพากษาว่ามีการกระทำผิด มีการทุจริต เมื่อต้องการยึดทรัพย์ เงินในบัญชีดังกล่าวอาจจะไม่เหลือ

ถกเครียด3ประเด็นก่อนมีมติ

ทั้งนี้ ที่ประชุมถกกัน 3 ประเด็นคือ 1.พฤติการณ์ทุจริตประพฤติมิชอบ 2.ร่ำรวยผิดปกติ 3.ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรได้ โดยข้อ 2 และ 3 มีความเกี่ยวพันจากการใช้อำนาจหน้าที่ ซึ่งกรรมการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่ยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะอายัด เนื่องจากขณะเข้ารับตำแหน่งมูลค่าหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ประมาณ 2 หมื่นล้าน แต่เมื่อพ้นตำแหน่งมูลค่าหุ้นสูงถึง 7 หมื่นกว่าล้านบาท มีส่วนต่างเพิ่มขึ้นถึง 5 หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวเผยว่า ที่ประชุมถกเถียงกันมากถึงจำนวนทรัพย์สินที่ต้องอายัด เสียงส่วนใหญ่ต้องการให้อายัดทั้งหมด 7 หมื่นล้าน แต่อีกส่วนหนึ่งให้อายัด 5 หมื่นล้านที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ใช้ในการสั่งอายัด เนื่องจากพบว่ามีการยักย้ายถ่ายโอนเงินออกนอกบัญชีกว่า 2 หมื่นล้านบาท ทั้งยังพบพฤติกรรมของคุณหญิงพจมาน ที่นำเงินสดไปซื้อเครื่องเพชรและนำออกนอกประเทศ เพื่อไปขายเป็นเงินสดอีกทอดหนึ่ง จึงเกรงว่าถ้าไม่เร่งสั่งอายัดทรัพย์จะมีการเบิกถอนเพิ่มขึ้น

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อถึงขั้นการลงมติ ปรากฏว่ากรรมการเสียงข้างน้อยทั้ง 4 คนกลับนิ่งเฉย ไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติม แต่ขอดูมติที่คตส.จะเขียนออกมาว่าเป็นอย่างไร จึงต้องปรับแก้มติถึง 6-7 ครั้ง โดยมอบหมายให้นายแก้วสรร อติโพธิ นายกล้านรงค์ จันทิก และนายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นผู้ร่วมกันร่างมติ

ผลักดัน2ครั้งแต่ไม่สำเร็จ

แหล่งข่าวกล่าวว่า การเสนอเรื่องการอายัดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น คตส.จัดเตรียมครั้งแรกตั้งแต่เดือนเม.ย. และเดือนพ.ค.เป็นครั้งที่สอง แต่ต้องตกไป โดยเฉพาะในการผลักดันครั้งที่สอง หลังจากนายกล้านรงค์ซึ่งเป็นอนุกรรมการสอบสวนการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป และเป็นอนุกรรมการตรวจสอบเรื่องการแปลงภาษีสัมปทานโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต ได้ผลักดันให้คตส.ออกมติเพื่ออายัดทรัพย์ เพราะพบว่าการกระทำของพ.ต.ท.ทักษิณ มีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งอายัดทรัพย์สินได้ เนื่องจากคตส.ตรวจสอบพบการเคลื่อน ไหวเงินในบัญชีของพ.ต.ท.ทักษิณและคนใกล้ชิดอย่างผิดสังเกต แต่ปรากฏว่าข่าวรั่วเสียก่อน ประกอบกับนายสักกับนายวิโรจน์ไม่เห็นด้วยและคัดค้านการอายัดทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง ทำให ้คตส.ต้องระงับการนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือที่ประชุม

กระทั่งกรรมการคตส.ที่เป็นคีย์แมนสำคัญในการพิจารณาเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีพฤติการณ์ที่ประพฤติผิดมากเพียงพอแล้ว ทั้งเรื่องการคอร์รัปชั่นและการร่ำรวยผิดปกติ จึงได้ผลักดันให้นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมคตส.เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยในช่วงเย็นวันที่ 8 มิ.ย. นายแก้วสรรได้หอบเอกสารหนาหลายร้อยหน้าเข้าพบกับนายนามที่ห้องทำงาน เพื่อหารือเป็นการส่วนตัวนานเกือบ 15 นาที คาดว่าเป็นการหารือถึงข้อกฎหมายในการอายัดทรัพย์ดังกล่าว จนมีมติดังกล่าวออกมาในที่สุด โดยกรรมการคตส.ที่เป็นแกนนำเสนอเรื่องการอายัดทรัพย์คือคุณหญิงจารุวรรณ นายแก้วสรร นายบรรเจิด และนายกล้านรงค์

เตรียมตั้งชุดติดตามการอายัด

รายงานข่าวจากคตส.เปิดเผยว่า คตส.ได้นัดประชุมด่วนในวันที่ 13 มิ.ย. เพื่อจัดตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบการอายัดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณและพวก เพื่อรองรับทำเรื่องการอายัดทรัพย์โดยเฉพาะ เช่น หากมีการยื่นคำคัดค้านคำสั่งอายัดทรัพย์ก็จะให้คณะทำงานชุดนี้เป็นผู้พิจารณา โดยจะให้ตัวแทนจากธปท.มาร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย

นายแก้วสรร อติโพธิ เลขาฯคตส. ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ในหนังสือคำสั่งที่ประธานคตส.ส่งถึงสถาบันการเงินเพื่อให้ปฏิบัติตามมติคตส. ในการอายัดบัญชีธนาคารของพ.ต.ท.ทักษิณและพวก 21 บัญชี และให้รายงานการตรวจสอบการไหลเวียนของเงินฝากในบัญชีดังกล่าวนั้น คตส.สั่งให้ทุกธนาคารต้องรายงานกลับมาที่คตส.ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ 12 มิ.ย. โดยเบื้องต้นคตส.ตรวจสอบแล้วพบว่าเงินในบัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ในบัญชีธนาคารที่คตส.อายัดทรัพย์ไว้นั้น เหลือเงินสดฝากไว้ไม่มากนัก ส่วนบัญชีของบุคคลอื่นๆ ใน 21 บัญชีพบว่า ตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย.จนถึงวันที่ 11 มิ.ย. แต่ละคนเหลือเงินในบัญชีไม่มาก และหลายคนเงินหายไปพอสมควร ดังนั้น ต้องไปดูว่าเงินที่หายไปแต่ละคนต้องมาชี้แจงกับคตส.ว่าใช้ไปทำอะไรบ้าง โดยจะต้องชี้แจงกับคณะอนุกรรมการที่คตส.จะตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อดูแลเรื่องการอายัดทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดนี้จะมีใครบ้างต้องรอมติที่ประชุม แต่ส่วนใหญ่จะต้องเป็นคนที่ทำงานด้านการติดตามบัญชีของคนที่โดนอายัดทรัพย์เป็นการเฉพาะ